เปลี่ยนแนวคิดจาก “สิ่งที่ทุกคนไม่อยากได้” ให้เป็น“สิ่งที่ทุกคนอยากเก็บไว้”
รถบรรทุกที่แล่นอยู่ตามท้องถนนตอนฝนตกจะคลุมผ้าใบกันฝนไว้
ซึ่ง แน่นอนว่าผ้าใบกันฝนเหล่านั้นคงเปรอะฝุ่นเต็มไปหมด ถ้าเราบอกว่าจะใช้ผ้าใบ เปื้อนฝุ่นนั้นทำกระเป๋าขึ้นมา
โดยจะขายให้ในราคาไม่ต่ำกว่า 150,000 วอนหรือ อาจสูงถึง 1 ล้านวอน คนอื่นคงมองเราแบบแปลกๆ เพราะคิดว่ากระเป๋าที่ทำจาก ผ้าใบสกปรกพวกนี้จะมีใครซื้อ
ทว่า Freitag แบรนด์กระเป๋าจากสวิตเซอร์แลนด์ ได้สร้างธุรกิจจาก สิ่งที่คนคิดว่าเป็นไปไม่ได้นี้จนประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นมากว่า
20 ปีแล้ว ถึงขนาดว่าลูกค้าตัวยงที่ชื่นชอบแบรนด์มาก ๆ มีกระเป๋า
Freitag อยู่เกินกว่า 200 ใบ จึงไม่มีใครกล้าออกมาวิพากษ์วิจารณ์ความสำเร็จของพวกเขา
เคล็ดลับ ของธุรกิจที่ไม่เหมือนใครนี้อยู่ที่การเปลี่ยนแนวคิดจาก
“สิ่งที่ทุกคนไม่อยากได้”
ให้เป็น“สิ่งที่ทุกคนอยากเก็บไว้” คนทั่วไปมักพูดว่า Freitag ประสบความสำเร็จ อย่างยิ่งใหญ่จากการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่
แต่แท้จริงแล้วเคล็ดลับความสำเร็จ ของ Freitag นั้นอยู่ในรหัสไฮเอนด์ที่ไม่เหมือนใคร
โดยปรับใช้กลยุทธ์ของแบรนด์ คุณภาพ
รหัสไฮเอนด์ตัวแรกของ Freitag
คือกฎแห่งความซื่อสัตย์ที่จะไม่ทำวัสดุปลอมขึ้นมาใช้
พนักงานของ Freitag ให้ข้อมูลว่าพวกเขาสามารถผลิตกระเป๋า ได้เพียง
400,000 ใบต่อปี เพราะการรักษากฎข้อนี้ทำให้มีข้อจำกัดเรื่องวัสดุ
โดย Freitag ยืนกรานว่าจะใช้เฉพาะผ้าใบที่ผ่านการใช้แล้วจริงๆจากบริษัทขนส่ง
มีพนักงานประมาณ 4 คนที่รับผิดชอบเรื่องนี้ ซึ่งแม้ว่าพวกเขาจะเดินทางไป
รอบโลกตลอดทั้งปีเพื่อเสาะหาผ้าใบกันฝนที่ใช้มาแล้วเกิน 5 ปี
แต่ก็หาได้แค่ราวๆ 400 ตันเท่านั้น และใช่ว่า Freitag
จะใช้ผ้าใบกันฝนทั้งหมดที่หามาได้ ผ้าใบ ผืนเก่าพวกนั้นจะถูกนำมาคัดเลือกเฉพาะส่วนที่มีลวดลายที่สื่อได้ถึงเอกลักษณ์
ของ Freitag ตลอดจนนำไปผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การซัก ทำให้แห้ง
การตัด เป็นต้น และทุกขั้นตอนล้วนทำด้วยมือ ดังนั้น โดยปกติในการผลิต กระเป๋า Freitag
1 ใบจึงต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือนเลยทีเดียว ด้วยกฎแห่ง
ความซื่อสัตย์นี้ส่งผลให้“กระเป๋าแมสเซนเจอร์” กระเป๋ารุ่นใหม่ล่าสุดของ Freitag ได้ถูกนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่กรุงนิวยอร์กเป็นที่เรียบร้อย
รหัสไฮเอนด์ตัวที่สองคือการให้นิยามใหม่ทางความคิด คนเราเวลาซื้อของ
ก็ต้องการของที่ไม่มีตำหนิ แต่ Freitag
ได้ให้นิยามใหม่ว่าตำหนิที่ทุกคนไม่ต้องการ นั้นกลายเป็นเรื่องเล่าให้แก่สินค้าได้
เมื่อเห็นตำหนิตามจุดต่างๆ บนกระเป๋า Freitag ทำให้เรานึกอะไรขึ้นมาได้หลายอย่าง
ผ้าใบกันฝนของรถบรรทุกที่วิ่งไป วิ่งมาตามท้องถนน ทั้งในวันที่ฝนตก
แดดออก ทั้งกลางวันและกลางคืน ตลอด ทุกฤดูกาล อาจทำให้เห็นภาพเถ้าแก่เนี้ยสูงวัยคนหนึ่งนั่งอยู่ในร้านเหล้าแถวท่าเรือ
ที่ไหนสักแห่งลอยขึ้นมาก็ได้ ลวดลายตัวอักษรเก่าๆ หรือรอยถลอกที่อยู่บน กระเป๋า Freitag
ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะลดคุณค่าของกระเป๋า แต่เป็นเรื่องราวที่เพิ่มคุณค่า
ของกระเป๋าให้มากยิ่งขึ้น
ในขณะที่กระเป๋ายี่ห้ออื่นประเมินคุณค่าพื้นฐานจากความหรูหรา
ความ ทันสมัย แต่ Freitag นำเสนอคุณค่าใหม่ที่เรียกว่าของเสียและการนำกลับมาใช้ใหม่
เหมือนประโยคที่ว่าเมื่อทุกคนขายเหล้า เราต้องขายข้าว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น