ไม่ต่างก็ตาย นี่คือกฎในสนามรบ


            วันหนึ่งในปีพ.ศ.2518 เหตุการณ์เกิดขึ้นในบริษัท Desco von Schulthess ซึ่งเป็นบริษัทนำเข้า-ส่งออก ตั้งอยู่ในเมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผู้บริหาร คนหนึ่งเดินจ้ำอ้าวเข้ามาในสำนักงาน เขาหันไปมองรอบๆ แล้วเดินเข้าไปถาม พนักงานคนหนึ่งที่นั่งอยู่แถวนั้นว่า

            “นี่ คุณชื่ออะไร
            “ผมเหรอครับ ผม...มอริซ ลาครัวซ์ครับ แต่...
            แล้วผู้บริหารคนนั้นที่นิ่งเงียบเหมือนกำลังครุ่นคิดอะไรบางอย่างก็พูดขึ้นมา เสียงดังว่า
             “ดี! คุณ มานี่หน่อย เรามาเซ็นสัญญากันเดี๋ยวนี้เลย”  
            ผู้บริหารบอกกับพนักงานคนนั้นที่กำลังงงๆเพราะไม่เก่งภาษาอังกฤษว่า ขอยืมชื่อคุณหน่อยนะ เดี๋ยวเราจะจ่ายเงินให้ และแบรนด์นาฬิกาที่ถือกำเนิดขึ้น จากเหตุการณ์น่าขบขันนี้ก็คือ Maurice Lacroix นั่นเอง การที่ปัญหาสำคัญ อย่างเรื่องชื่อแบรนด์ถูกแก้ไขอย่างรวดเร็วและไม่คิดอะไรมากเช่นนี้อาจทำให้ รู้สึกตกใจ แต่เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นได้ทันทีว่า ความสามารถในการแข่งขันของ Maurice Lacroix คืออะไร คีย์เวิร์ดก็คือคำว่า ตอนนี้นั่นเอง
            สโลแกนของนาฬิกาแบรนด์ดัง Patek Philippe ที่ว่า มาเริ่มต้นตำนาน ของคุณกันเถอะ (Begin your own tradition)” เป็นการเข้าถึงลูกค้าแบบทั่วไป ของแบรนด์นาฬิกาที่มีอยู่ในตอนนั้น โดยเน้นเรื่องความเก่าแก่ดังเช่นที่เราได้ พิจารณากันไปแล้วข้างต้น แต่สโลแกนของ Maurice Lacroix คือ เวลาของคุณ คือตอนนี้(Your time is now)” เท่ากับว่า Welder ใช้อนาคตสู้กับ อดีตส่วน Maurice Lacroix ใช้ตอนนี้สู้กับความเก่าแก่ซึ่งตรงกันข้าม
            นี่ไม่ใช่เพียงการเลือกใช้กลยุทธ์ที่ต่างไปจากกลุ่มคู่แข่งที่อยู่มานานกว่า เท่านั้น แบรนด์ที่ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2518 แบรนด์นี้ยังสามารถสร้างความแตกต่างกับ คู่แข่งหน้าใหม่ที่อยู่ในสถานการณ์คล้าย ๆ กันได้อีกด้วย ซึ่งเป็นผลมาจากแนว ความคิดของแบรนด์ที่ไม่หวั่นไหวกับเรื่องความเก่าแก่ของบริษัทหรือขนบธรรมเนียม ของธุรกิจ แบรนด์นี้เริ่มต้นที่การดึงดูดความสนใจจากกลุ่มลูกค้าที่ใช้เหตุผลในการ เลือกซื้อ จึงเน้นนำเสนอความสามารถทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับมูฟเมนต์ (movement หมายถึง ส่วนประกอบด้านในของนาฬิกาที่ทำให้นาฬิกาทำงาน) มากกว่าเรื่องของดีไซน์ ทั้งๆ ที่ปกติแล้วแบรนด์หน้าใหม่มักจะใช้ดีไซน์ที่หรูหรา ดึงดูดใจลูกค้าเพื่อเลี่ยงที่จะเริ่มต้นด้วยการต่อสู้แบบเผชิญหน้า ขณะที่ Maurice Lacroix เลือกการสู้แบบ เผชิญหน้าด้วยความสามารถทางเทคโนโลยีของตน เพราะคิดว่าการต่อสู้แบบเผชิญหน้าเท่านั้นที่จะรับประกันการอยู่รอดให้แบรนด์ ในระยะยาวได้ ด้วยเหตุนี้ Maurice Lacroix จึงเลือกประเทศเยอรมนีเป็นสนามรบ แห่งแรก โดยตั้งใจจะทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้นจากการเป็นผู้ชนะในตลาดแห่งนี้ ที่มีวิจารณญาณมองเห็นความสามารถทางเทคโนโลยีของตน แล้วก็เป็นไปตาม ที่คาดไว้ แม้จะเป็นแบรนด์หน้าใหม่ แต่ผู้บริโภคชาวเยอรมันก็เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ที่มีมูฟเมนต์อันยอดเยี่ยมของ Maurice Lacroix อย่างไม่ลังเล ทำให้แบรนด์นี้มีพื้นที่ ที่จะแทรกเข้าไปในตลาดยุโรปได้ นอกจากนี้ยังเลือกสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ สูงสุดไว้ต่อสู้กับคู่แข่งเจ้าอื่นๆ จึงนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมกระบวนการผลิต และการออกแบบเพื่อเพิ่มเสถียรภาพภายในให้กับแบรนด์ของตนด้วย
            Maurice Lacroix ปรากฏตัวในสนามรบที่นายพลจอร์จเคยกล่าวไว้ว่า ไม่ชนะก็ตายเป็น ไม่ต่างก็ตายการยึดมั่นในความต่างและการปฏิบัติงาน ที่รวดเร็วทำให้สามารถครองตลาดได้ภายในเวลาไม่นาน ซึ่งการเข้าถึงลูกค้าด้วย วิธีที่ต่างจากผู้แข็งแกร่งเดิมในตลาดกับคู่แข่งหน้าใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นไปพร้อม ๆ กัน เช่นนี้คือกลยุทธ์ความสำเร็จของแบรนด์นี้
-รหัสไฮเอนด์ที่ซ่อนอยู่ใน Hondaism -
          การแตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่เดิม การไม่มีอยู่ในสิ่งเดิมนั้นมีคุณค่ามาก ปรัชญา“Hondaism”ของฮนดะ โซอิชิโร ผู้ก่อตั้ง Honda และเป็นผู้ที่ทำให้Honda เติบโตจนเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ระดับโลกได้บอกให้เรารู้ว่าผลิตภัณฑ์ไฮเอนด์ต้องทำอย่างไร
          หนึ่ง อย่าทำตามคนอื่น
          สอง อย่าพึ่งพาหน่วยงานรัฐ
          สาม ตั้งเป้าหมายระดับโลก
          สี่ ผลิตอย่างมีความสุข ขายอย่างมีความสุข ซื้ออย่างมีความสุข สร้างสามความสุขนี้ให้ได้
          Honda ใช้วิธีการยึดมั่นในธุรกิจหลักร่วมกับเจตคติของผู้เชี่ยวชาญ ทุ่มเทพลังงานทั้งหมดเพื่อธุรกิจของตน สิ่งที่ทำให้Honda ประสบความสำเร็จในวันนี้ได้คือแนวคิดแบบไฮเอนด์
ที่เรียกว่า ความแตกต่าง การพัฒนาตนเอง ความเป็นสากล ความสุข และเจตคติของผู้เชี่ยวชาญ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

3 หัวใจหลักContent

วิธีแปลงไฟล์ PDF ให้เป็น Word

เปลี่ยนจากผู้สนใจเป็นลูกค้าได้อย่างไร? (Convert & Close)