ไฮเอนด์คือ “ความคิดแบบเม่น” ที่สู้ด้วยกำลัง ของตนเอง
อิสยาห์ เบอร์ลิน (Isaiah Berlin) นักคิดผู้โด่งดังในช่วงคริสต์ศตวรรษที่
20 ได้แบ่งประเภทของมนุษย์ออกเป็นสุนัขจิ้งจอกและเม่น
ถ้าสุนัขจิ้งจอกกับเม่นสู้กัน คนส่วนใหญ่คงคิดว่าสุนัขจิ้งจอกที่ทั้งเจ้าเล่ห์และเหลี่ยมจัดน่าจะเป็นผู้ชนะ
แต่ความจริงแล้วเม่นต่างหากที่มักจะเป็นผู้ชนะอยู่เสมอ ในระหว่างที่สุนัขจิ้งจอกใช้ความฉลาดของมันคิดหาวิธีการต่างๆนานาเพื่อเอาชนะ
เม่นใช้เพียงขนที่เป็นอาวุธเพียงอย่างเดียวของมันในการต่อ สู้อิสยาห์ เบอร์ลิน ยืนยันความคิดที่ว่า
“มนุษย์แบบเม่นทำให้โลกอันซับซ้อนนี้เรียบง่ายขึ้นได้โดยใช้แนวคิดที่เป็นระบบหรือหลักการพื้นฐาน
และมนุษย์แบบเม่นสามารถสร้างความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ได้”
เม่นจะไม่พึ่งพาใคร แต่มุ่งมั่นฝ่าฟันอุปสรรคไปสู่เป้าหมายที่เรียบง่ายตามกำลังของตน
แบรนด์ไฮเอนด์ก็เช่นกัน แบรนด์เหล่านี้จะต่อสู้ด้วยอาวุธที่ตัวเองมีเพื่อสร้างคุณค่าที่ไม่มีใครแทนที่ได้ให้แก่ตัวเอง
ช่วงต้นปีพ.ศ.2557 การลงประชามติเพื่อกำหนดระบบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ประเด็นสำคัญคือการทำข้อตกลงร่วมเกี่ยวกับการจ้างงานเพื่อรับรองอัตราค่าจ้างขั้นต่ำระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น
และการนำระบบค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมงไปใช้ในเขตที่การใช้ระบบค่าจ้างขั้นต่ำรายเดือนเป็นไปได้ยาก
อย่างไรก็ตาม อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศนี้สูงกว่าที่เราคิด ได้แก่ ค่าจ้างขั้นต่ำรายเดือนคือ4,000 ฟรังก์สวิส (4 ล้าน 6 แสนวอน)
และรายชั่วโมงคือ 22 ฟรังก์สวิส (25,000 วอน) เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปีเดียวกันของประเทศเกาหลีใต้คือชั่วโมงละ
5,210 วอน จะสูงกว่าราวๆ 500 เท่า ซึ่งเราอาจมองว่าเป็นเพราะความแตกต่างของรายได้ประชากรก็ได้
เพราะความจริงแล้วในปีพ.ศ.2556 มีการบันทึกไว้ว่า ค่า GDP
เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในประเทศสวิตเซอร์แลนด์อยู่ที่อันดับ 4 ของโลก โดยสูงถึง 81,323 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่ร่ำรวยเพียงใดก็จำเป็นต้องพิจารณาเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอย่างถี่ถ้วนเพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของประเทศ
ดังนั้นการที่รัฐบาลของสวิตเซอร์แลนด์กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไว้ที่ 4,000 ฟรังก์สวิส เขาก็คงประเมินแล้วว่าเศรษฐกิจของประเทศสามารถอยู่รอดได้แม้จะกำหนดอัตราไว้สูงเช่นนี้
พลังของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เริ่มต้นจากกลุ่มผู้ประกอบการภายในประเทศไม่ว่าจะเป็น
La Roche, Nestlé, Richemont, Swatch ล้วนเป็นแบรนด์ดัง จากสวิตเซอร์แลนด์ที่จัดอยู่ในอันดับต้น
ๆของธุรกิจแต่ละประเภท ซึ่งแนวทางการบริหารกิจการของแบรนด์เหล่านี้ก็คือการมีเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยมและมีนิสัย
ที่ไม่ยอมแพ้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่เราควรให้ความสนใจมากที่สุดก็คือการที่บริษัทเหล่านี้ทำธุรกิจโดยยึดเรื่องการได้ผลกำไรสูงเป็นสำคัญ
การตั้งเป้าหมายว่าจะทำธุรกิจที่ได้ผลกำไรสูงนั้นมาจากความต้องการเอาชนะ สภาพแวดล้อมที่ขาดแคลนของประเทศ
เพราะในฐานะนักท่องเที่ยวอาจมองว่า ทิวทัศน์ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้นสวยงาม
ภาพบ้านเรือนและฟาร์มที่ตั้งอยู่ บนพื้นสีเขียวช่างน่าประทับใจเหลือเกิน
แต่สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนั้นแล้ว สวิตเซอร์แลนด์เป็นเพียงผืนดินที่แห้งแล้ง
กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของประเทศเป็น ภูเขาและปกคลุมไปด้วยยอดเขาสูง
ถึงขนาดมีคนเคยกล่าวไว้ว่า พระเจ้าไม่อาจ ทนเห็นสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งและขรุขระของสวิตเซอร์แลนด์ได้
พระองค์ จึงประทานแกะลงมาให้ ในอดีต ผู้ชายชาวสวิสต้องไปรับจ้างเป็นทหารของ ประเทศต่างๆในยุโรปเพื่อเลี้ยงชีพ
ทำการเกษตรและฟาร์มเลี้ยงสัตว์หรือทำงาน อะไรสักอย่างเพื่อให้หลุดพ้นไปจากสภาวะขาดแคลนเช่นนี้
ซึ่งความพยายามของพวกเขาในภายหลังนั้นอาจสรุปรวมได้เป็นสองข้อใหญ่ๆ
ข้อแรก ด้วยข้อจำกัดเรื่องการเดินทางภายในประเทศที่ยากลำบากและอันตรายเพราะต้องข้ามภูเขา
สวิตเซอร์แลนด์จำเป็นต้องเลือกสินค้าที่ขนส่งง่ายให้กำไรสูง
ซึ่งก็ได้แก่ธุรกิจด้านเภสัชกรรม นาฬิกา เป็นต้น และนี่คือเหตุผลที่มีบริษัทผลิตยารักษาโรคขนาดใหญ่อย่าง
Novartis และแบรนด์นาฬิกาชื่อดังเช่น Rolex หรือ OMEGA ฯลฯ เกิดขึ้น อันที่จริงประเทศนี้มีช่างนาฬิกาอยู่เป็นจำนวนมาก
พวกเขาใช้ฤดูหนาวอันยาวนานเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยหลังจากฤดูหนาวผ่านไปพวกเขาจะผลิตนาฬิกาได้อย่างน้อย
1 เรือนหรืออย่างมาก 3-4 เรือน ศิลปะอันงดงามและการเป็นสินค้าหายากทำให้พวกเขาสามารถตั้งราคาขายขั้นต่ำได้เรือนละ
30 ล้านวอน หรืออาจสูงถึงเรือนละ 100 ล้านวอน
- 300 ล้านวอนเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับกระบวนการผลิตที่มีมากถึง300 ขั้นตอนแล้วก็อาจคิดว่าราคาเท่านี้ยังต่ำเกินไป ถึงกระนั้นมันก็น่าจะเป็นมูลค่าสูงสุดที่ใครคนหนึ่งสามารถเพิ่มให้แก่สินค้าของเขาได้ด้วยความสามารถของตนเองมิใช่หรือ
ข้อที่สอง ในขณะนั้นกลุ่มประเทศมหาอำนาจได้ควบคุมธุรกิจต่างๆไว้เกือบทั้งหมด
สวิตเซอร์แลนด์จึงต้องการสร้างพลังด้านคุณภาพของสินค้าให้สูงกว่าใครโดยใช้เทคโนโลยีเฉพาะตัวของตนเป็นพื้นฐาน
โครงสร้างธุรกิจของสวิตเซอร์แลนด์เปลี่ยนไปโดยปริยาย เป็นการผลิตสินค้าที่ให้กำไรสูงแม้จะขายได้เพียงชิ้นเดียวและนี่คือเบื้องหลังที่ทำให้ทุกวันนี้สวิตเซอร์แลนด์มีกลุ่มธุรกิจที่มีแนวคิดสร้างสรรค์อยู่มากที่สุดในโลก
ธุรกิจของสวิตเซอร์แลนด์ที่เรารู้จักกันดีและเป็นตัวแทนของกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลกำไรสูง
ได้แก่ ธุรกิจด้านเภสัชกรรมที่ใช้เทคโนโลยีนาโนและไบโอ ธุรกิจด้านการเงินอย่าง Swiss
Bank ธุรกิจผลิตอาหารที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วโลกอย่าง Nestlé ฯลฯ ธุรกิจด้านการผลิตเครื่องจักรของสวิตเซอร์แลนด์ก็โด่งดังมากเช่นกัน ทั้งเครื่องพิมพ์และเครื่องจักรที่ใช้ในธุรกิจสิ่งทอที่จัดอยู่ในอันดับ
5 ของกลุ่มธุรกิจประเภทเดียวกัน หรือเรียกได้ว่าติดอันดับ 1 ใน 10 ของธุรกิจเครื่องจักรต่างๆที่สำคัญ
อาจมองได้ว่าธุรกิจต่างๆของสวิตเซอร์แลนด์นั้น
หากไม่ทำให้ยอดเยี่ยมก็ไม่คิดที่จะลงแข่งขัน
สวิตเซอร์แลนด์นับเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยมที่สุดในยุโรป โดยครองอันดับหนึ่งในทุกดัชนีชี้วัดความเป็นไฮเอนด์ซึ่งเป็นตัวรับรองการได้ผลกำไรสูงทั้งจำนวนการจดสิทธิบัตรนานาชาติต่อประชากรหนึ่งคน
สัดส่วนของสินค้าส่งออกที่ได้ผลกำไรสูง เงินลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D)
ฯลฯ นอกจากนี้ ความจริงที่ว่ามากกว่า 2 ใน 3 ของคนทำงานในสวิตเซอร์แลนด์กำลังทำงานอยู่ในกิจการที่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมก็น่าสนใจมากเช่นกัน
ซึ่งธุรกิจต่างๆเหล่านี้เป็น“ธุรกิจที่ดำเนินกิจการแบบเม่น”
ที่ส่วนใหญ่อยู่ในอันดับต้นๆของโลกในกลุ่มธุรกิจประเภทนั้น ๆ
ตัวอย่างเช่น Straumann ผู้นำด้านนวัตกรรมรากฟันเทียม Lantal
Textiles อันดับหนึ่งในธุรกิจประเภทเส้นใยชนิดพิเศษ และ Katadyn
ที่หนึ่งด้านผลิตภัณฑ์เครื่องกรองน้ำชนิดพกพา เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ของพวกเขาไม่ใช่ผลิตภัณฑ์โลว์เอนด์ที่คอยทำตามความต้องการของลูกค้าและตลาด
หากแต่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ไฮเอนด์ที่ก้าวนำลูกค้าด้วยเทคโนโลยีและคุณภาพของผลิตภัณฑ์และผลกำไรที่สูงจากธุรกิจเหล่านี้นี่เองที่เป็นเคล็ดลับที่จะผลักให้GDP
ของสวิตเซอร์แลนด์สูงขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลกได้ในไม่ช้า
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น