“ราคา” อีกชื่อหนึ่งของ“คุณค่า”

            สิ่งสำคัญที่สุดในการใช้กลยุทธ์ไฮเอนด์ก็คือการเชื่อว่า ราคา = คุณค่า ร้านขายเต้าหู้ คงซารังดูบูซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในตลาดยงฮย็อน เมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ เป็นร้านค้าเล็ก ๆขนาดไม่ถึง 33 ตารางเมตร แต่มียอดขายสูงกว่าร้านขายเต้าหู้ร้านอื่น ถึงสองเท่า ทั้งที่ราคาเต้าหู้ของร้านนี้สูงกว่าราคาเต้าหู้ร้านอื่นเป็นเท่าตัว และด้วยความที่ตลาดแห่งนี้เป็นตลาดเก่าแก่ที่มีลูกค้าประจำเป็นคนธรรมดาทั่วไป จึงยากจะเข้าใจได้ว่าเหตุใดร้านเต้าหู้แห่งนี้ถึงตั้งราคาไว้สูงกว่าร้านอื่น อย่างไรก็ตาม นายอีด็อกแจ เจ้าของร้านเต้าหู้แห่งนี้ยังคงเชื่อมั่นว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้โดยการทำให้คุณค่าของผลิตภัณฑ์สูงขึ้นเป็นสองเท่าเช่นเดียวกับราคานั่นเอง
            ความจริงแล้วคงซารังดูบูไม่ได้ขายเฉพาะเต้าหู้ทั่วไปที่ขายกันอยู่ตามท้องตลาด แต่ยังขายเต้าหู้งาดำและเต้าหู้ผักซึ่งนำเสนอคุณค่าที่ทำให้ลูกค้าสามารถยอมรับราคาเต้าหู้ที่ร้านกำหนดไว้ได้ ผู้บริโภคจึงยอมจ่ายเงินเป็นสองเท่าเพื่อซื้อเต้าหู้งาดำที่ดีต่อสุขภาพและเต้าหู้ผักที่ช่วยแก้ปัญหาการเลือกกินของเด็กๆ ซึ่งทุกผลิตภัณฑ์ของร้านมักจะขายหมดอย่างรวดเร็วเสมอ

ที่มาของการได้รับความนิยมเช่นนี้มีรหัสไฮเอนด์ซ่อนอยู่ 2 ประการด้วยกันนั่นคือ
การผลิตและจำหน่ายในวันเดียวกันและ การห้ามขายส่ง
กฎข้อแรก      เป็นความเชื่อที่ว่าต้องผลิตวันต่อวัน
              เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่สดใหม่ที่สุดให้แก่ลูกค้า
กฎข้อสอง      ห้ามขายส่งเพราะถ้าขายส่งก็จะต้องวางขายไว้นานกว่าเดิม
              ทำให้ไม่สามารถรักษากฎข้อแรกได้

       การขายเต้าหู้หนึ่งก้อนให้เหมือนขาย Louis Vuitton ใช้กลยุทธ์เดียวกันกับร้าน Victor Churchill กล่าวคือ รักษากฎอย่างเคร่งครัดร่วมกับดูแลภาพลักษณ์ของแบรนด์และนำเสนอคุณค่าสินค้าให้สูงกว่าราคา ซึ่งนี่คือเคล็ดลับในการเพิ่มยอดขายเป็นสองเท่าที่จะเปลี่ยนโลว์เอนด์ให้เป็นไฮเอนด์ได้




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

3 หัวใจหลักContent

วิธีแปลงไฟล์ PDF ให้เป็น Word

เปลี่ยนจากผู้สนใจเป็นลูกค้าได้อย่างไร? (Convert & Close)